Thursday, March 7, 2013

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ประวัติ...ดอยอ่างขาง

          โดยเรื่องกำเนิดของ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง แห่งนี้ เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่า ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้ และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร

          จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลย และสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่า ชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณ ดอยอ่างขาง ส่วนหนึ่ง 


ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

          จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ. ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า "สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง"

          โดยคำว่า "อ่างขาง" ภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อม รอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อย ๆ ละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

          สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง ปัจจุบัน ดอยอ่างขาง ได้เปลี่ยนสภาพจากภูเขา ซึ่งถูกตัดไม้ทำลายป่ามาเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวกว่า 12 ชนิด ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอร์รี่ สาลี่ ราสเบอรี่ พลับ กีวี ลูกไหน เป็นต้น ผักเมืองหนาวกว่า 60 ชนิด เช่น แครอท ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ และไม้ดอกเมืองหนาวมากกว่า 20 ชนิด เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ จำหน่ายผลิตผลตามฤดูกาลที่ปลูก ในโครงการให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล

      
ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

กิจกรรมท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง ได้แก่…

          • ชมแปลงสาธิต ผัก ผลไม้ และไม้ดอกเมืองหนาวภายในศูนย์ฯ สามารถขับรถวนเป็นวงกลม ค่าเข้าชมคนละ 30 บาท ยานพาหนะคันละ 50 บาท

          • ชมสวนบอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันก็มีสวนสมุนไพรด้วยฤดูท่องเที่ยวอยู่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

          • เยี่ยมหมู่บ้านหลวง สัมผัสชีวิตชาวจีนฮ่อ ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีน ยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

          • เยี่ยมหมู่บ้านนอแล สัมผัสวิถีชีวิตชาวปะหล่อง อดีตชนเผ่าดั้งเดิมของพม่า มีผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของกลุ่มแม่บ้าน จำหน่ายและเยี่ยมฐานปฏิบัติการนอแล ชมชายแดนไทย-พม่า ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย - พม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมาที่นี่ได้ประมาณ 15 ปี คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติ บริเวณพรมแดนไทย-พม่า

          • เที่ยวบ้านขอบด้ง สัมผัสวิถีชีวิตชาวเขาเผ่ามูเซอ มีมัคคุเทศก์น้อยพาเยี่ยมชมภายในหมู่บ้าน เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่า มูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตร และด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ) บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของ ชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้ง ช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้าน โดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อย ที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้ง เพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักท้องถิ่นให้เด็ก ๆ ด้วย


ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง


          • เที่ยวหมู่บ้านคุ้ม ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็ก ๆ ประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว

          • เดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะสั้น ประมาณ 2 กิโลเมตร จะได้ชมความงามธรรมชาติของผืนป่าปลูกทดแทน น้ำตกเล็กๆ และกุหลาบพันปี

          • ขี่จักรยานเสือภูเขาชมธรรมชาติ จากบ้านคุ้มไปยังบ้านนอแล และจากบ้านหลวงไปยังบ้านผาแดง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

          • กิจกรรมดูนก ที่มีทั้งนกประจำถิ่นและนกหายากต่างถิ่นให้ศึกษาหลากสายพันธุ์ มากกว่า 1,000 สายพันธุ์ จุดที่เหมาะคือสถานีป่าแม่เผอะและบริเวณรอบๆ รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง

          • ขี่ฬ่อล่องไพร ชมความงดงามของธรรมชาติ ในบรรยากาศเย็นสบายรอบ ๆ ดอยอ่างขาง ด้วยการนั่งบนหลังฬ่อ (การนั่งบนหลังฬ่อต้องนั่งหันข้าง เนื่องจากอานกว้างไม่สามารถนั่งคร่อมอย่างการขี่ม้าได้) หากสนใจกิจกรรมนี้ต้องติดต่อกับรีสอร์ทล่วงหน้าอย่าน้อย 1 วัน เพราะปกติชาวบ้านจะนำฬ่อไปเป็นพาหนะขนผลิตผลทางการเกษตรด้วย

          • จุดชมวิว-จุดกิ่วลมชนิด เป็นลานชมพระอาทิตย์ขึ้น-ตกดิน และสัมผัสทัศนียภาพของถนนทางขึ้น ดอยอ่างขาง อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยก ซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมวิวได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก หรือทะเลหมอก มองเห็นทิวเขารอบด้าน และหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

 ที่พักและร้านอาหาร

          สถานีเกษตรหลวงอ่างขางมีบ้านพักรับรองภายในศูนย์ฯ จำนวน 18 หลัง ดังนี้...

          • ขนาดพัก 2 คน ราคา 1,000 บาท/หลัง/คืน
          • ขนาดพัก 6 คน ราคา 1,200 บาท/หลัง/คืน
          • ขนาดพัก 40 คน ราคา 150 บาท/คน/คืน
          • เต็นท์บริการ ขนาด 2-3 คน ราคา 150 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอนราคา 300 บาท/หลัง/คืน 
          • เต็นท์บริการ ขนาด 4-5 คน ราคา 300 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอน ราคา 500 บาท/หลัง/คืน 
          • กรณีนำเต็นท์มาเองคิดค่าบริการพื้นที่คนละ 20 บาท
          • มีร้านอาหารและเครื่องดื่มภายในสโมสรอ่างขาง

          หมายเหตุ : กรุณาสำรองที่พักล่วงหน้าก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 เดือน โทร. 0-5345-0107-9

เครดิต http://travel.kapook.com/view1266.html

No comments:

Post a Comment