Friday, August 10, 2012

อุทยานประวัติศาตร์ปราสาทเขาพนมรุ้ง









"อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง" ตั้งอยู่
ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นเป็นโบราณสถาน
สำหรับชาติในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2578 ปัจจุบันอดีตกาลพนมรุ้งเป็นภูเขาไฟซึ่งผ่าน
การระเบิดมาแล้วและธรรมชาติก็ได้เปลี่ยน แปลงปล่อง ภูเขาไฟ ให้เป็นแหล่งน้ำซึ่งมี ปริมาณ น้ำมากเพียงพอต่อการบริโภคและ
อุปโภคได้ตลอดปีสำหรับคนโดยทั่วไปและ สำหรับคนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ขึ้นไปทำสิ่ง
ก่อสร้างอันยิ่งใหญ่บนนั้น




"ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง"เป็นศาสนสถาน
ทางศาสนาพราหมณ์ ลัทธิศิวะนิกาย คือการยกเอาพระศิวะเป็นมหาเทพสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่สร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16-18ร่วมสมัยกับปราสาทนครวัดซึ่งสร้างโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 มหาราชองค์หนึ่งของ กัมพูชาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 นั้นเป็นศาสนสถานทางศาสนาพราหมณ์ลัทธิวิษณุนิกายคือการยก
เอาพระนารายณ์โดยเหตุที่พระศิวะมีถิ่นฐานที่สถิตย์ประทับอยู่บนภูเขาพระสุเมรุ ฉะนั้นการที่บรรพชนในอดีตจะทำสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่ถวายเป็นที่ประทับของ พระศิวะมหาเทพ จะต้องหาทำเลหรือชัยภูมิเพื่อจะสมมติว่าคือเขาพระสุเมรุจึงเลือกเอาพนมรุ้งสร้างสิ่งก่อสร้างด้วยหินทรายสีชมพูบนขอบปล่องภูเขาไฟด้านทิศใต้อันเป็นหนทางอันใกล้สวรรค์มากยิ่งกว่าพื้นราบและหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเพื่อ รับแสงแห่งดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นอันเป็นสิริมงคลและพลังอันยิ่งใหญ่ร้อนแรง



Large_phnum7



Large_phnum8



Large_phnum17

หน้าบันศิวะนาฎราช
   อยู่ที่บริเวณหน้าบันด้านทิศตะวันออกของมณฑปปราสาทประธานเป็น ภาพจำหลักพระศิวะฟ้อนรำ เป็นภาพพระศิวะเศียรเดียว สิบกร อยู่ในท่าฟ้อนรำ แวดล้อมด้วย พระคเณศ พระวิษณุ พระพรหม และเทวสตรี 2 องค์ ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูจังหวะการ่ายรำของพระศิวะ อาจะบันดาลให้เกิดผลดีและผลร้ายแก่โลกได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสวดอ้อนวอนให้พระองค์ฟ้อนรำในจังหวะที่พอดี โลกจึงจะสงบหากพระองค์โกรธกริ้วฟ้อนรำในจังหวะที่รุนแรง จะนำมาซึ่งภัยพิบัติต่าง ๆ


Large_phnum18

ทับหลังวิษณุอานันตศายิน ปัทมนาภะ
อยู่ที่ทับหลังของมณฑปด้านทิศตะวันออกปราสาทประธาน โดยพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวา เหนือพระยาอนันตนาคราช ซึ่งทอดตัวอยู่เหนือมังกรอีกต่อหนึ่งท่ามกลางเกษียรสมุทร มีก้านดอกบัวผุดขึ้นจากพระนาภีของพระองค์ มีพระพรหมประอยู่เหนือดอก การบรรทมสินธุ์ของพระนารายณ์แต่ละครั้งนั้น จะเกี่ยวกับยุคเวลาในแต่ละกัลป์ เมื่อสิ้นกัลป์พระพรหมจะบังเกิดบนดอกบัวที่ออกมาจากพระนาภีของพระนารายณ์ พระพรหมทรงเป็นผู้สร้างมนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ ต่อไป
ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2504 - 2508 ได้มีการโจรกรรมทับหลังนารายบรรทมสินธุ์ ที่แตกหักเป็น 2 ชิ้นนี้ไปจากปราสาทพนมรุ้ง ในปี พ.ศ. 2508 กรมศิลปากรได้ยืดเอาทับนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่แตกออกโดยได้ยืดเอาทับหลังชิ้นเล็กจากร้านขายของเก่า แถบราชประสงค์ กรุงเทพฯ ส่วนทับหลังชิ้นใหญ่นั้น ในปี พ.ศ. 2515 ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุลได้พบทับหลังชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ที่สถาบันศิลปะแห่งชิคาโกประเทศสหรัฐอเมริกา จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่สถาบันฯ ทราบ และมีการร่วมมือจากภาครัฐ ประชาชนชาวไทยทั้งในอเมริกาและในไทยเพื่อขอคืน โดยมีการทำหนังสือโดยตรงถึงผู้อำนวยการสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก ทางสถาบันได้ยืนยันว่า ได้รับทับหลังชิ้นนี้มาอย่างถูกต้องแต่พร้อมที่จะแก้ปัญหา โดยเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนโบราณวัตถุที่มีคุณค่าทางศิลปะเท่าเทียมกัน ฝ่ายไทยได้มีมติเรื่องนี้ว่า จะไม่ดำเนินการแลกเปลี่ยนโบราณวัตถุซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติเป็นอันขาด
การประชุมเพื่อขอคืนทับหลังมีต่อมาอีกหลายครั้ง มีผู้ที่ให้การสนับสนุนฝ่ายไทยเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นกรรมการกรณีทับหลัง หรือบุคคลภายนอกที่เป็นทั้งชาวต่างชาติ รวมทั้งชาวอเมริกกัน และจากสื่อมวลชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ด้วยแรงกดดันต่าง ๆ เหล่านี้ทางสถาบันศิลปะแห่งชิคาโกสหรัฐอเมริกา จึงได้ส่งมอบทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์คืนให้แก่ รัฐบาลไทยในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 และได้นำเอาทับหลังชิ้นนี้กลับไปติดตั้งยังที่เดิม ณ องค์ปราสาทประะานพนมรุ้ง ในวันที่ 7 ธันวาคม ปีเดียวกัน






ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ส่องทะลุประตู 15บาน
ในวันที่ 3-5 เมษายน และ 8-10 กันยายน ของทุกปี ดวงอาทิตย์ขึ้น ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน และในวันที่ 6-8 มีนาคม และ 6-8 ตุลาคม ของทุกปี ดวงอาทิตย์ก็ตก ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน เช่นกัน

เส้นทางการเดินทาง
ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่บ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เวลาทำการ 06.00 น. – 18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท

การเดินทาง
จากอำเภอนางรอง ใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ประมาณ 14กิโลเมตร ถึงสามแยกโรงเรียนบ้านตะโกเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117ตรงไปราว 6 กิโลเมตร ถึงบ้านตาเป๊ก แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข2221 อีก 6 กิโลเมตร

รถประจำทาง
รถโดยสารจากกรุงเทพฯ – เขาพนมรุ้ง ลงที่เชิงเขาแล้วต่อรถสองแถวขึ้นปราสาท
รถสายบุรีรัมย์ –นางรอง ลงสถานีนางรองแล้วต่อรถสองแถว


เครดิต:วาทิน ศานติ์ สันติ

No comments:

Post a Comment