"อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง" ตั้งอยู่ ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นเป็นโบราณสถาน สำหรับชาติในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2578 ปัจจุบันอดีตกาลพนมรุ้งเป็นภูเขาไฟซึ่งผ่าน การระเบิดมาแล้วและธรรมชาติก็ได้เปลี่ยน แปลงปล่อง ภูเขาไฟ ให้เป็นแหล่งน้ำซึ่งมี ปริมาณ น้ำมากเพียงพอต่อการบริโภคและ อุปโภคได้ตลอดปีสำหรับคนโดยทั่วไปและ สำหรับคนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ขึ้นไปทำสิ่ง ก่อสร้างอันยิ่งใหญ่บนนั้น "ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง"เป็นศาสนสถาน ทางศาสนาพราหมณ์ ลัทธิศิวะนิกาย คือการยกเอาพระศิวะเป็นมหาเทพสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่สร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16-18ร่วมสมัยกับปราสาทนครวัดซึ่งสร้างโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 มหาราชองค์หนึ่งของ กัมพูชาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 นั้นเป็นศาสนสถานทางศาสนาพราหมณ์ลัทธิวิษณุนิกายคือการยก เอาพระนารายณ์โดยเหตุที่พระศิวะมีถิ่นฐานที่สถิตย์ประทับอยู่บนภูเขาพระสุเมรุ ฉะนั้นการที่บรรพชนในอดีตจะทำสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่ถวายเป็นที่ประทับของ พระศิวะมหาเทพ จะต้องหาทำเลหรือชัยภูมิเพื่อจะสมมติว่าคือเขาพระสุเมรุจึงเลือกเอาพนมรุ้งสร้างสิ่งก่อสร้างด้วยหินทรายสีชมพูบนขอบปล่องภูเขาไฟด้านทิศใต้อันเป็นหนทางอันใกล้สวรรค์มากยิ่งกว่าพื้นราบและหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเพื่อ รับแสงแห่งดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นอันเป็นสิริมงคลและพลังอันยิ่งใหญ่ร้อนแรง หน้าบันศิวะนาฎราช อยู่ที่บริเวณหน้าบันด้านทิศตะวันออกของมณฑปปราสาทประธานเป็น ภาพจำหลักพระศิวะฟ้อนรำ เป็นภาพพระศิวะเศียรเดียว สิบกร อยู่ในท่าฟ้อนรำ แวดล้อมด้วย พระคเณศ พระวิษณุ พระพรหม และเทวสตรี 2 องค์ ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูจังหวะการ่ายรำของพระศิวะ อาจะบันดาลให้เกิดผลดีและผลร้ายแก่โลกได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสวดอ้อนวอนให้พระองค์ฟ้อนรำในจังหวะที่พอดี โลกจึงจะสงบหากพระองค์โกรธกริ้วฟ้อนรำในจังหวะที่รุนแรง จะนำมาซึ่งภัยพิบัติต่าง ๆ ทับหลังวิษณุอานันตศายิน ปัทมนาภะ อยู่ที่ทับหลังของมณฑปด้านทิศตะวันออกปราสาทประธาน โดยพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวา เหนือพระยาอนันตนาคราช ซึ่งทอดตัวอยู่เหนือมังกรอีกต่อหนึ่งท่ามกลางเกษียรสมุทร มีก้านดอกบัวผุดขึ้นจากพระนาภีของพระองค์ มีพระพรหมประอยู่เหนือดอก การบรรทมสินธุ์ของพระนารายณ์แต่ละครั้งนั้น จะเกี่ยวกับยุคเวลาในแต่ละกัลป์ เมื่อสิ้นกัลป์พระพรหมจะบังเกิดบนดอกบัวที่ออกมาจากพระนาภีของพระนารายณ์ พระพรหมทรงเป็นผู้สร้างมนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ ต่อไป ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2504 - 2508 ได้มีการโจรกรรมทับหลังนารายบรรทมสินธุ์ ที่แตกหักเป็น 2 ชิ้นนี้ไปจากปราสาทพนมรุ้ง ในปี พ.ศ. 2508 กรมศิลปากรได้ยืดเอาทับนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่แตกออกโดยได้ยืดเอาทับหลังชิ้นเล็กจากร้านขายของเก่า แถบราชประสงค์ กรุงเทพฯ ส่วนทับหลังชิ้นใหญ่นั้น ในปี พ.ศ. 2515 ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุลได้พบทับหลังชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ที่สถาบันศิลปะแห่งชิคาโกประเทศสหรัฐอเมริกา จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่สถาบันฯ ทราบ และมีการร่วมมือจากภาครัฐ ประชาชนชาวไทยทั้งในอเมริกาและในไทยเพื่อขอคืน โดยมีการทำหนังสือโดยตรงถึงผู้อำนวยการสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก ทางสถาบันได้ยืนยันว่า ได้รับทับหลังชิ้นนี้มาอย่างถูกต้องแต่พร้อมที่จะแก้ปัญหา โดยเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนโบราณวัตถุที่มีคุณค่าทางศิลปะเท่าเทียมกัน ฝ่ายไทยได้มีมติเรื่องนี้ว่า จะไม่ดำเนินการแลกเปลี่ยนโบราณวัตถุซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติเป็นอันขาด การประชุมเพื่อขอคืนทับหลังมีต่อมาอีกหลายครั้ง มีผู้ที่ให้การสนับสนุนฝ่ายไทยเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นกรรมการกรณีทับหลัง หรือบุคคลภายนอกที่เป็นทั้งชาวต่างชาติ รวมทั้งชาวอเมริกกัน และจากสื่อมวลชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ด้วยแรงกดดันต่าง ๆ เหล่านี้ทางสถาบันศิลปะแห่งชิคาโกสหรัฐอเมริกา จึงได้ส่งมอบทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์คืนให้แก่ รัฐบาลไทยในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 และได้นำเอาทับหลังชิ้นนี้กลับไปติดตั้งยังที่เดิม ณ องค์ปราสาทประะานพนมรุ้ง ในวันที่ 7 ธันวาคม ปีเดียวกัน ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ส่องทะลุประตู 15บาน ในวันที่ 3-5 เมษายน และ 8-10 กันยายน ของทุกปี ดวงอาทิตย์ขึ้น ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน และในวันที่ 6-8 มีนาคม และ 6-8 ตุลาคม ของทุกปี ดวงอาทิตย์ก็ตก ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน เช่นกัน
เส้นทางการเดินทาง
ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่บ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เวลาทำการ 06.00 น. – 18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท
การเดินทาง
จากอำเภอนางรอง ใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ประมาณ 14กิโลเมตร ถึงสามแยกโรงเรียนบ้านตะโกเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117ตรงไปราว 6 กิโลเมตร ถึงบ้านตาเป๊ก แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข2221 อีก 6 กิโลเมตร
รถประจำทาง
รถโดยสารจากกรุงเทพฯ – เขาพนมรุ้ง ลงที่เชิงเขาแล้วต่อรถสองแถวขึ้นปราสาทรถสายบุรีรัมย์ –นางรอง ลงสถานีนางรองแล้วต่อรถสองแถว เครดิต:วาทิน ศานติ์ สันติ |
Friday, August 10, 2012
อุทยานประวัติศาตร์ปราสาทเขาพนมรุ้ง
สวนแม่ฟ้าหลวง
สวนแม่ฟ้าหลวง |
สวนแม่ฟ้าหลวง |
สวนแม่ฟ้าหลวง |
สวนแม่ฟ้าหลวง
สวนแม่ฟ้าหลวงตั้งอยู่ด้านหน้าพระตำหนักดอยตุง มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่
เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับนานาพรรณ มีดอกไม้เมืองหนาว อาทิ ดอกซัลเวีย พิทูเนีย
บีโกเนีย กุหลาบ ดอกลำโพง ไม้มงคลต่าง ๆ
นอกจากนั้นยังมีไม้ยืนต้นและซุ้มไม้เลี้อยอีกมากกว่า 70 ชนิด
และยังมีรูปปั้นต่อเนื่อง ฝีมือปั้นของคุณมีเซียม ยิปอินซอย
มีศาลาชมวิวและร้านจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
สวนแม่ฟ้าหลวงสร้างโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เพื่อถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
และในบริเวณใกล้กับสวนแม่ฟ้าหลวงจะมีหอพระราชประวัติซึ่งจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ
พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
การเดินทาง
พระตำหนักดอยตุงอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 60 กิโลเมตร
ตามทางหลวงหมายเลข 110 ไป 45 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1149
ไปประมาณ 15 กิโลเมตร
สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวสีม่วงบริเวณปากทาง
รถออกตั้งแต่ 07.00 น. มีรถออกทุก 20 นาที
Tuesday, August 7, 2012
หมู่เกาะลันตา
หมู่เกาะลันตา |
หมู่เกาะลันตา |
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
พระธาตุพนม |
พระธาตุพนม |
พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า (เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม ตามตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า ท้าวพญาทั้งห้าผู้เป็นใหญ่ ได้แก่พญาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหานหลวง พญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย พญาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองจุลนีพรหมทัต พญาอินทรปัตถ์ เจ้าเมืองอินทปัตถนคร และพญานันทเสน เจ้านครศรีโคตรบูรณ์อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุ ได้สร้างอูบมูงขึ้นเพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ตามพุทธพยากรณ์ โดยก่อสร้างด้วยดินดิบ (อิฐดิบ) ฐานพระธาตุพนมได้ขุดลงไปจนเป็นอูบมุง (อุโมง) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกส่วนหน้าอก เมื่อก่อด้วยดินดิบเสร็จแล้ว จึงได้ก่อไฟเผาพระธาตุเป็นเวลากว่าหลายวัน อิฐจึงได้แห้งสนิทจรดกัน ในพระธาตุพนม บรรจุพระอุรังคธาตุ(กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งประมาณ พ.ศ. 8 พระอุตรเถระและพระโสณเถระ สมรทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้อัญเชิญมา และพระมหากัสสปะเถระได้นำมาประดิษฐานไว้บนภูกำพร้า ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระธาตุพนมได้รับการบูรณะและอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห่งล้านช้าง พ.ศ. 2223-2225 และเป็นรูปแบบที่นิยมในอีสาน พ.ศ. 2233 พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) ปฏิสังขรณ์พระธาตุให้สูงขึ้น พ.ศ. 2483 รัฐบาลได้บูรณะให้สูงขึ้น พ.ศ. 2518 องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ทางราชการได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ ให้คงสภาพเดิม พ.ศ. 2522 การบูรณะโดยภาครัฐและเอกชน เมื่อปี พ.ศ. 2485 วัดพระธาตุพนมฯ ได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร" ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เวลา 19.38 น. ด้วยเหตุที่มีฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลายวันและความเก่าแก่ขององค์พระธาตุ พระธาตุพนมจึงได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522 นอกจากจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุดั่งเดิมแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้นบรรจุและประดับไว้ในองค์พระธาตุอีกด้วย โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ ซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 110 กิโลกรัม |
วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก)
ภูทอก |
ภูทอก |
ภูทอก |
ภูทอก |
ภูทอก
ภูทอก ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) อยู่ในอาณาเขตบ้านคำแคน ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จ.หนองคาย ภูทอกมี 2 ลูกคือ ภูทอกใหญ่ และภูทอกน้อย ส่วนที่นักแสวงบุญและนักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถชมได้คือภูทอกน้อย ส่วนภูทอกใหญ่อยู่ห่างออกไป ยังไม่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวไปชมได้ตามปกติ ในอดีตอาณาบริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย ต่อมาพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณะธรรมของภิกษุ-สามเณรและพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ในเวลาต่อมา ก่อนที่พระอาจารย์จวนจะละสังขาร ได้เล็งเห็นการณ์ไกลที่จะช่วยเหลือชาวบ้านแถวนี้ให้มีรายได้อย่างยั่งยืนและถาวร เป็นการตอบแทนบุญคุณญาติโยมที่มีอุปการะ จึงได้ริเริ่มจัดสร้างสะพานไม้และบันไดขึ้นชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอก เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธรักษ์ คือการท่องเที่ยวในเชิงการแสวงบุญหรือธรรมจาริก นักท่องเที่ยวจะได้ประโยชน์จากการเที่ยวชมธรรมชาติคือขุนเขาลำเนาไพรและได้ศึกษาพุทธศาสนา ส่วนชาวบ้านจะได้ประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าและธุรกิจร้านอาหาร (เงินจะสะพัด) นี่คือการช่วยเหลือประชาชนในแนวทางของพระอริยะ ส่วนพระที่ช่วยเหลือประชาชนโดยการบอกเลขใบ้หวย เป็นการช่วยเหลือที่ไม่จีรังยั่งยืน
บันไดขึ้นภูทอก
การขึ้นภูทอกนั้น ท่านพระอาจารย์จวนเริ่มก่อสร้างบันไดไม้สำหรับไต่ขึ้นไปในปี พ.ศ. 2512 ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็ม บันไดทั้ง 7 ชั้น แตกต่างกัน ดังนี้
ชั้นที่ ๑. เมื่อนักแสวงบุญเดินผ่านประตูสวรรค์เข้าไป แม้จะไม่มีป้ายบอก แต่ก็ถือว่าเข้ามาอยู่ในอาณาบริเวณชั้นที่ 1 แล้ว ชั้นที่หนึ่งนี้นักแสวงบุญจะได้สัมผัสกับต้นไม้ใบหญ้าหลากชนิดนานาพันธุ์
ชั้นที่ ๒ เป็นบันไดไม้ยาวทอดรับจากชั้นที่ 1 (ดูภาพประกอบ) เมื่อเดินตามสะพานไม้ไปเรื่อย ๆจะเห็นสถานีวิทยุชุมชนของวัดอยู่ด้านขวามือ ชั้นที่หนึ่งและสองมีทัศนียภาพที่ไม่ต่างกันมากนัก
ชั้นที่ ๓ เป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหินลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยกสองทาง (ดูภาพประกอบ) ทางซ้ายมือเป็นทางลัดผ่านชั้น 4 ไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลยซึ่งเป็นทางค่อนข้างชัน ผ่านซอกหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ส่วนทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4 แล้ววกขึ้นชั้นที่ 5 เป็นทางอ้อม (ขอแนะนำว่าควรขึ้นทางนี้ แล้วลงทางนั้น(ทางลัด))
ชั้นที่ ๔ เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดิบ มีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่าน มีสัตว์ป่ามากมายอาศัยอยู่ โดยเฉพาะมีฝูงกามาอาศัยอยู่มาก จึงเรียกกันว่า ภูรังกา แล้วเพี้ยนมาเป็นภูลังกาในที่สุด ชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะๆ
ชั้นที่ ๕ หรือชั้นกลาง เป็นชั้นที่สำคัญที่สุดแต่ไม่ได้สวยที่สุด (สวยที่สุดคือชั้น 6) มีศาลากลางและกุฏิที่อาศัยของพระ และเป็นที่เก็บศพของพระอาจารย์จวนไว้ด้วย ตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ เช่น ถ้ำเหล็กไหล ถ้ำแก้ว ถ้ำฤาษี ฯลฯ ตลอดเส้นทางสู่ชั้นที่ 6 มีที่พักเป็นลานกว้างอยู่ราว 20 แห่ง มีหน้าผาชื่อต่างๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต ฯลฯ ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พุทธวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน และมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นที่ 6
ชั้นที่ ๖ เป็นชั้นสุดท้ายของบันไดเวียนรอบเขา มีความยาว 400 เมตร เป็นชั้นที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอกได้ดีที่สุดและสวยที่สุด สิ่งศักดิ์สิทธิ์และน่าชมที่สุดของชั้นนี้คือ ปากทางเข้าเมืองพญานาคซึ่งอยู่หลังพระปางนาคปรก มีจุดให้สังเกตุคือมีรอยสีขาวขูดติดกับหินปูน ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นรอยถลอกที่เกิดจากท้องพญานาคสัมผัสกับหิน และมีบ่อน้ำเล็ก ๆ ขังอยู่เกือบตลอดปี (ดูภาพประกอบ)
ป.ล. การถ่ายภาพพุทธวิหารให้ได้ภาพงดงามที่สุด ต้องถ่ายซูมจากชั้นที่ 6 เท่านั้น
ชั้นที่ ๗ จากชั้นที่หกขึ้นมาชั้นที่เจ็ด จะมีบันไดไม้พาดขึ้นมา เมื่อเดินขึ้นบันไดผ่านมาแล้วจะเจอทางแยก 2 ทางเพื่อขึ้นไปบนดาดฟ้าชั้น 7 ทางแรกเป็นทางชัน ต้องเกาะเกี่ยวกิ่งและรากไม้โหนตัวขึ้นด้านบน นักท่องเที่ยวจะได้ความสนุกผสมความมันส์ดุจขึ้นเขาคิชฌกูฏ(จันทบุรี) อีกทางหนึ่งเป็นทางอ้อมต้องเดินเวียนไปทางขวามือ แต่จะมาบรรจบกันด้านบน ทางนี้เหมาะสำหรับคนแรงน้อย คนเฒ่า-คนแก่และเด็ก ๆ
สำหรับชั้นที่เจ็ดบนดาดฟ้านั้นมีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ เป็นชั้นมหัศจรรย์อีกชั้นหนึ่ง เพราะนักท่องเที่ยวบางคนประทับใจมาก ทั้ง ๆ ที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างใด ๆ มีเพียงป่ากับต้นไม้ ส่วนบางคนไม่ประทับใจเลย บอกว่าไม่เห็นมีอะไร ส่วนพวกนักท่องเที่ยวผู้มีตาทิพย์หรือมีญาณวิเศษก็บอกว่า ต้นไม้บนดาดฟ้าชั้นที่เจ็ดเป็นวิมานของพวกเทวดาเต็มไปหมด ดังนั้น คนที่ไม่มีบุญหรือบุญไม่พอ จะไม่มีโอกาสได้มาถึงชั้นเจ็ดอย่างแน่นอน ถึงเดินมาก็มาไม่ถึง หรืออาจเดินหลงทางหรือหาทางขึ้นไม่เจอก็เคยมี
ป.ล. นักท่องเที่ยวผู้มาจากแดนไกล เมื่อมีโอกาสแล้ว ควรหาโอกาสปีนมาให้ถึงชั้น 7 จะได้ไม่คาใจ (สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น)
การเดินทาง
ภูทอกอยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 185 กิโลเมตร การเดินทางจากตัวเมือง ใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอโพธิ์ชัย อำเภอปากคาด และอำเภอบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 222 ถึงอำเภอศรีวิไล จากอำเภอศรีวิไลมีทางแยกซ้ายผ่านบ้านนาสิงห์ บ้านสันทรายงาม สู่บ้านนาคำแคน ถึงภูทอกเป็นระยะทางอีก 30 กิโลเมตร
ภูชี้ฟ้า
ภูชี้ฟ้า |
ภูชี้ฟ้า
ที่ตั้ง
วนอุทยานภูชี้ฟ้าอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว ท้องที่บ้านร่มฟ้าทอง หมู่ที่ 9 และบ้านร่มฟ้าไทย
หมู่ที่ 10 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์
หรือพื้นที่ป่าโซน C ตามแผนที่ ZONING
เนื้อที่ที่สำรวจและเห็นควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน ประมาณ 2,500 ไร่
โดยกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541
มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ จดทางหลวงจังหวัดสาย 1093 ทิศใต้ จดสันเขา ทิศตะวันออก จดสันเขา/ชายแดนไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศตะวันตก จดทางหลวงจังหวัดสาย 1093
การเดินทาง
รถยนต์
ภูชี้ฟ้าอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ประมาณ 144 กิโลเมตร การเดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ไปยังภูชี้ฟ้าได้ตามแนวเส้นทางดังนี้ จากอำเภอเมืองเชียงรายไปอำเภอเทิง ผ่านสามแยกโรงเรียนภูซางวิทยาคม บ้านสบบงและสามแยกบ้านม่วงชุมแล้วเดินทางต่อไป ก็จะถึงภูชี้ฟ้า ไปตามทางหลวงจังหวัดสาย 1093 ผ่านน้ำตกภูซาง ด่านบ้านฮวก ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น เส้นทางสายนี้เป็นทางลาดยาง 104 กิโลเมตรและทางดินลูกรัง 40 กิโลเมตร ผ่านจุดท่องเที่ยวสำคัญ 3 แห่งได้แก่ น้ำตกภูซาง (อุทยานแห่งชาติภูซาง) และด่านบ้านฮวก หมู่บ้านชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ทดลองและส่งเสริมปลูกไม้ดอกเมืองหนาว เช่น ทิวลิป ลิลลี่ จากภูชี้ฟ้าสามารถเดินทางไปยังดอยผาตั้ง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดยอยู่ห่างออกไปตามเส้นทางหลวงจังหวัดสาย 1093 เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร และจากดอยผาตั้งยังสามารถเดินทางต่อไปยังอำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายได้อีกด้วย |
Friday, August 3, 2012
จังหวัดเชียงใหม่
พระธาตุดอยสุเทพ |
สวนราชพฤกษ์ |
พระตำหนักภูภิงค์ราชนิเวศ |
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดลำพูน และ จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดกับ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงราย และ จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน
อำเภอแม่ริม 8 กิโลเมตร อำเภอสารภี 10 กิโลเมตร อำเภอสันทราย 12 กิโลเมตร อำเภอสันกำแพง 13 กิโลเมตร อำเภอหางดง 15 กิโลเมตร อำเภอดอยสะเก็ด 18 กิโลเมตร อำเภอสันป่าตอง 22 กิโลเมตร กิ่งอำเภอแม่ออน 29 กิโลเมตร อำเภอแม่วาง 35 กิโลเมตร อำเภอแม่แตง 40 กิโลเมตร อำเภอสะเมิง 54 กิโลเมตร |
อำเภอจอมทอง 58 กิโลเมตร อำเภอเชียงดาว 68 กิโลเมตร อำเภอฮอด 88 กิโลเมตร อำเภอพร้าว 103 กิโลเมตร อำเภอดอยเต่า 121 กิโลเมตร อำเภอไชยปราการ 131 กิโลเมตร อำเภอเวียงแหง 150 กิโลเมตร อำเภอฝาง 154 กิโลเมตร อำเภอแม่แจ่ม 156 กิโลเมตร อำเภอแม่อาย 174 กิโลเมตร อำเภออมก๋อย 179 กิโลเมตร |
Thursday, August 2, 2012
His Majesty Bhumibol Adulyadej
Bhumibol Adulyadej (Thai: ภูมิพลอดุลยเดช; RTGS: Phumiphon Adunyadet; pronounced [pʰuːmípʰon ʔàdunjádèːt] ( listen); see full title below; born 5 December 1927) is the reigning King of Thailand. He is known as Rama IX. Having reigned since 9 June 1946, he is the world's longest-serving current head of state and the longest-reigning monarch in Thai history.
Although Bhumibol is legally a constitutional monarch, it is believed that he has made several decisive interventions in Thai politics. He was credited with facilitating Thailand's transition to democracy in the 1990s, although he has supported numerous military regimes, including Sarit Dhanarajata's during the 1960s and the Council for National Security in 2006–8. He has authorized over 15 coups, 16 constitutions, and 27 changes of prime ministers. He has also used his influence to stop military coups, including attempts in 1981 and 1985. Bhumibol is advised by a hand-picked Privy Council.
Bhumibol is respected and revered by many Thais. Bhumibol is legally considered "inviolable" and lèse majesté, that is offence against the dignity of the monarch, may be punished In 1957, the overthrow of the government was justified with allegations of lèse majesté. Bhumibol however invited public criticism in a 2005 speech.
Bhumibol is credited with a social-economic theory of self-sufficiency. His personal wealth is tremendous: Forbes estimated Bhumibol's personal fortune, including property managed by the Crown Property Bureau which is considered national property, to be US$30 billion in 2010, and he has been consistently placed at number one of the magazine's list of "The World's Richest Royals".[ The Crown Property Bureau spends money on public welfare such as youth development, however it does not pay taxes and its finances are reported only to Bhumibol. Bhumibol himself has made donations to numerous development projects in Thailand, in areas including agriculture, environment, public health, occupational promotion, water resources, communications and public welfare. Commemoration of Bhumibol's contributions to Thailand are ubiquitous in the Thai media
Early life
He was born at the Mount Auburn Hospital in Cambridge, Massachusetts, in the United States on 5 December 1927. He was the younger son of HRH Prince Mahidol Adulyadej and Mom Sangwan (later HRH Princess Srinagarindra, the Princess Mother: Somdet Phra Si Nakharinthra Boromaratchachonnani). His name, Bhumibol Adulyadej, means "Strength of the Land, Incomparable Power". His father was enrolled in the Public Health program at Harvard University, hence his unusual place of birth for a monarch.
He came to Thailand in 1928, after Prince Mahidol obtained a certificate from Harvard. He briefly attended Mater Dei school in Bangkok but in 1933 his mother took the family to Switzerland, where he continued his education at the Ecole Nouvelle de la Suisse Romande in Lausanne. He received the baccalauréat des lettres (high-school diploma with major in French literature, Latin, and Greek) from the Gymnase Classique Cantonal of Lausanne, and by 1945 had begun studying science at the University of Lausanne, when World War II ended and the family returned to Thailand.
Succession and marriage
Bhumibol ascended the throne following the death by gunshot wound of his brother, King Ananda Mahidol, on 9 June 1946, under circumstances that remain unclear. Bhumibol returned to Switzerland in order to continue his education in law and political science, and his uncle, Rangsit, Prince of Chainat, was appointed Prince Regent. While in Switzerland, Bhumibol authorized a military coup that overthrew the government of Luang Thamrong Navasawat and ushered in 30 years of uninterrupted military dictatorship. He also authorized the 1949 constitution, which gave back to the monarchy almost all of its powers that were taken away by the 1932 Revolution.
While finishing his degree in Switzerland, Bhumibol visited Paris frequently. It was in Paris that he first met Mom Rajawongse Sirikit Kitiyakara, daughter of the Thai ambassador to France.
On 4 October 1948, while Bhumibol was driving a Fiat Topolino on the Geneva-Lausanne road, he collided with the rear of a braking truck 10 km outside of Lausanne. He hurt his back and incurred cuts on his face that cost him the sight of his right eye.[20][21] While he was hospitalised in Lausanne, Sirikit visited him frequently. She met his mother, who asked her to continue her studies nearby so that Bhumibol could get to know her better. Bhumibol selected for her a boarding school in Lausanne, Riante Rive. A quiet engagement in Lausanne followed on 19 July 1949, and the couple were married on 28 April 1950, just a week before his coronation.
Bhumibol and his wife Queen Sirikit have four children:
(Formerly HRH) Princess Ubol Ratana, born 5 April 1951 in Lausanne, Switzerland;
HRH The Crown Prince Maha Vajiralongkorn, born 28 July 1952;
HRH The Princess Maha Chakri Sirindhorn, born 2 April 1955;
HRH The Princess Chulabhorn Walailak, born 4 July 1957.
One of Bhumibol's grandchildren, Bhumi Jensen, was killed in the tsunami caused by the 2004 Indian Ocean earthquake. He was the autistic son of Princess Ubol Ratana.
Coronation and titles
Bhumibol was crowned King of Thailand on 5 May 1950 at the Royal Palace in Bangkok where he pledged that he would "reign with righteousness for the benefit and happiness of the Siamese people" ("เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"). Notable elements associated with the coronation included the Bahadrabith Throne beneath the Great White Umbrella of State; and he was presented with the royal regalia and utensils.
In 1950 on Coronation Day, Bhumibol's consort was made Queen (Somdej Phra Boromarajini). The date of his coronation is celebrated each 5 May in Thailand as Coronation Day, a public holiday. On 9 June 2006, Bhumibol celebrated his 60th anniversary as the King of Thailand, becoming the longest reigning monarch in Thai history.
Following the death of his grandmother Queen Savang Vadhana, Bhumibol entered a 15-day monkhood (22 October 1956 – 5 November 1956) at Wat Bowonniwet, as is customary for Buddhist males on the death of elder relatives. During this time, Sirikit was appointed his regent. She was later appointed Queen Regent (Somdej Phra Boromarajininat) in recognition of this.
Although Bhumibol is sometimes referred to as King Rama IX in English, Thais refer to him as Nai Luang or Phra Chao Yu Hua (ในหลวง or พระเจ้าอยู่หัว: both mean "the King" or "Lord Upon our Heads"). He is also called Chao Chiwit ("Lord of Life"). Formally, he would be referred to as Phrabat Somdej Phra Chao Yu Hua (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) or, in legal documents, Phrabat Somdej Phra Paraminthara Maha Bhumibol Adulyadej (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช), and in English as His Majesty King Bhumibol Adulyadej. He signs his name as ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. (Bhumibol Adulyadej Por Ror; this is the Thai equivalent of Bhumibol Adulyadej
วันอาสาฬหบูชา Asalha Puja
วันอาสาฬหบูชา (บาลี: อาสาฬหปูชา; อังกฤษ: Asalha Puja) เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยคำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน
วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์
การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ใน 5 ปัญจวัคคีย์ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาพระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล (อนุพุทธะ)เป็นคนแรก จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วย
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาในประเทศพุทธเถรวาทมาก่อน จนมาในปี พ.ศ. 2501การบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาจึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย ตามที่คณะสังฆมนตรีได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.2501 โดยคณะสังฆมนตรีได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี)โดยคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชาอันเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล
อย่างไรก็ตาม วันอาสาฬหบูชาถือเป็นวันสำคัญที่กำหนดให้กับวันหยุดของรัฐเพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนในต่างประเทศที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่น ๆ ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันอาสาฬหบูชาเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา
Subscribe to:
Posts (Atom)