Tuesday, April 10, 2012

The Royal Cremation proceeds


The Royal Cremation proceeds

The procession to transfer the remains of Her Royal Highness Princess Bejaratana from Dusit Maha Prasart Throne Hall to the Royal Crematorium at the Sanam Luang ceremonial ground commenced at about 9.30am.

The royal cremation of Princess Bejaratana, the only daughter of King Rama VI started at 7am.
The royal cremation took place more than eight months after the princess passed away on July 27, 2011.
HRH Prince Maha Vajiralongkorn and HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn represented HM the King in the event.
The royal urn is transferred upon the Golden Palanquin with Three Poles (Phra Yannamas Sam Lamkhan) from the Grand Palace, with the procession of honor to the Royal Great Victory Carriage (Phra Maha Phichai Ratcharot) in front of Wat Phra Chetuphon (Wat Pho).
The Crown Prince and Princess Maha Chakri Sirindhorn accompanied the royal urn to the Elevated Royal Hall in front of Wat Phra Chetuphon. The procession then proceeded to transfer the royal urn to the Royal Crematorium at Sanam Luang.
The symbolic royal cremation takes place at 4.30pm at the Royal Crematorium, when Their Majesties the King and Queen and members of the Royal Family attend the ceremony.
Their Majesties the King and Queen and members of the Royal Family will proceed to the Royal Crematorium again at 10pm for the actual royal cremation.

credit: http://www.nationmultimedia.com

'Psoriasis' Congenital Disease that Nobody Needs to Inherit


'Psoriasis' Congenital Disease that Nobody Needs to Inherit
Nopadon Noppakun

People nowadays may have never heard about 'Psoriasis Disease', even though it can have mentally impact to the patients and those around them directly. It can be said that people who have this disease may be avoided by the society although it is not contagious but it is an inherited disease. Believe it or not, in Thailand there are 2 psoriasis patients per 100 population or there are approximately 1 Thai million people suffer from this disease!

Psoriasis requires lots of learning and the patients should have knowledge about it. Most of the patients start to have rash and red inflamed skin during 2 spans of age, i.e. at approximately 22 years and 55 years. It is found in the adult whose ages are in ranges of 27-60 years old, both in men and women. While average ages that are found in the children are 8 year old and not younger than 15 years.
Such disorder will cause red and white rash on the body around the scalp, face, arms, hands, fingers, back and soles of feet which makes the patients feel depression and do not need to expose any part of the skin. It can affect their mentally state and career. More importantly, for adult patients, its symptoms do not show any sign during their childhood or adolescent stages. It is regarded as an autoimmune disorder that appears on the skin. It occurs because the immune system speeds up growth cycle of skin cells too rapidly and the old skin cells are replaced by new ones every other day. Such speeding skin cell growth causes red raised areas of inflamed skin covered with silvery-white scaly skin, which is very itchy. The patients have to endure irritation due to severe itching and subsequent negative conditions.
The basis of psoriasis is from genetics and it is congenital disease, which means that the patient needs to know that whose member of his family has this disease. On the contrary, it can pass via blood. When the patient is aware that he has this disease, he usually has been encouraged to stay living normally and find new way of life which means that he has to understand it, pay more attention on sunlight exposure, start to eat useful foods and avoid some types of food. Most importantly, he must be diagnosed and treated from the doctor regularly. Generally, the patients need additional assistance and mostly they need medication. There are many factors that can cause this disease, not from one specific cause, nor from pathogen, chemical substance or physics conditions which can be directly toxic to skin, but it is the effects from genetics or many kinds of abnormal genes plus improper environmental factors, both internal and external body that aggravate the condition. Skin plaques can be found in various forms, but erythematous plaque is mostly found. Some patient has acute rash and it is gone. Some has chronic recurring conditions. Other disorders which can also be found are abnormal fingernails and arthritis and etc. The patient may have abnormal fingernails or painful joint first or those symptoms may occur simultaneously with inflamed skin.
Plaque-like psoriasis is the most common form of psoriasis. It typically appears as red raised areas of inflamed skin covered with silvery white scaly skin. After scales are peeled, they will become Auspitz sign. Plaque has many forms, for example, it may be round small blisters with water drop size, or coil-size blister or larger than the palms of hands, or curve shaped. Some patients may have large plaque covering their back to hip or all over body. There are 2 patterns of plaque distributions which are commonly found. The first one appears as raised areas of inflamed skin in water drop or coil size spreading throughout the body (guttate psoriasis) but it usually occurs only for a short period of time and it is mostly found in the children after they are recovered from the infected respiratory system. This type of plaque shall be gradually disappeared after its infection has been treated but it may reoccur. The second pattern is chronic stationary psoriasis (psoriasis vulgaris or plaque type psoriasis) and it occurs in areas which have been frequently rubbed against, such as elbows, knees, hip or scalp. Its size is quite large and gradually getting bigger. It can be disappeared but it may take time and it may require proper treatment. When it is cured, psoriasis will not leave any lesions, but some patients may have black pigment but skin will become normal at a later time. About 80 percent of psoriasis patients have chronic stationary plaques. There are many types of psoriasis plaques, such as smooth inflamed patches of skin around skin folds (psoriasis inversus), raised bumps that are filled with noninfectious pustules (pustular psoriasis), widespread inflammation and fiery redness of the skin over most of the body surface (psoriasis erythroderma) and more.
Additionally, psoriasis has complications as it is found that it can cause arthritis which can affect health-related quality of life, particularly diseases concerning metabolism system, i.e. hypertension, high blood sugar level which can lead to diabetes and cardiovascular disease.
At present, teams of dermatological doctors from many institutes and hospitals throughout the country, such as Institute of Dermatology, Department of Medical Services, Ministry of Public Health; Faculty of Medicine, Siriraj Hospital; Faculty of Medicine, Ramathibodhi Hospital; Faculty of Medicine, Chulalongkorn Hospital - King Chulalongkorn Memorial Hospital; Faculty of Medicine, Phramongkutklao Hospital; Faculty of Medicine, Chiangmai University; Faculty of Medicine, Prince of Songkhla University, the center hospitals and general hospitals in the regions place importance to this disease. Dermatological Society of Thailand deems that this disease should be widely publicized, so that the general public and close relatives of the patients can acknowledge about its characteristics, conditions, and above all they shall be well aware that psoriasis is not contagious. For alternative treatment guidelines, Dermatological Society of Thailand by the support of LEO Pharma shall further publicize at the later stage, so that the psoriasis patients can be treated with holistic approach. If the doctor has diagnosed that anyone has psoriasis disease, there may be many questions, for instance why it has strange name, or will it spread throughout the entire body or not, how to cure it or is it a chronic disease or not. When the patient has been informed that it cannot be cured, they may have emotional problems, such as stress, major depressive disorder or social isolation for fear of public rejection. If the patients have better understanding about this disease, they can adapt themselves and can live with it more happily and have a better quality of life as well as a better quality of skin.

credit: http://www.nationmultimedia.com

Final farewell to late princess


Final farewell to late princess

Mourners attend inspiring royal cremation ceremony of HRH princess bejaratana

Thais nationwide, dressed in the mourning colours of black and white, bid their last goodbye to Her Royal Highness Princess Bejaratana Rajasuda - the only child of King Rama VI - in an inspiring royal cremation ceremony yesterday at Bangkok’s Sanam Luang and televised live through a TV pool.
Although it rained in the afternoon, mourners continued to wait in line to place fragrant sandalwood flowers at three pavilions in the north of the Sanam Luang. Fortysix Bangkok temples as well as other upcountry temples also held the sandalwood flower tribute simultaneously.
The royal cremation of Princess Bejaratana, which took place more than eight months after the princess passed away on July 27, 2011, began early yesterday at 7am. HRH Prince Maha Vajiralongkorn and HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn represented HM the King at the event.
Although the procession commenced around 9.30am, many people had camped along the procession's route from 5am to pay their respects to the late princess.
The royal urn with the late princess' remains was transferred to the Golden Palanquin with Three Poles (Phra Yannamas Sam Lamkhan) from the Dusit Maha Prasart Throne Hall in the Grand Palace. The first procession of honour was to the Royal Great Victory Carriage (Phra Maha Phichai Ratcharot), which was parked in front of Wat Phra Chetuphon (Wat Pho).
The second procession of honour with the royal urn borne on the Royal Great Victory Carriage progressed to the Royal Crematorium at Sanam Luang. The third procession of honour then conveyed the royal urn to the Golden Palanquin with Three Poles circling counterclockwise three times around the crematorium, before carrying the urn to the royal funeral pyre.
Their Majesties the King and Queen and members of the Royal Family attended the symbolic royal cremation at 5:30pm and then proceeded to the Royal Crematorium at 10pm for the actual royal cremation.
As part of this great event, the Culture Ministry presented various public performances in the evening on three openair stages, from 7pm yesterday until 6am on April 10, a total of 10 hours. The stage performances would stop during the actual royal cremation. The Khon traditional Thai drama of Nong Loy was presented in a special performance by the traditional offering in front of the crematorium.
The first stage near Phra Pinklao Bridge featured the Nhang Yai great shadow plays with the Khon traditional Thai drama about the Ramayana Epic.
The second stage near the Supreme Court featured the Phra Abhaimanee puppet show, a scene from a Sakuntala play written by King Rama VI called Sakuntala, and a traditional Lakhon Nok drama featuring the folk tale of Sangthong. The plays were performed by artists from Fine Arts Department's Office of the Music And Drama as well as from 12 colleges of dramatic arts nationwide and the Bunditpatanasilpa Institute.
The third stage in front of Thammasat University featured singing performances by the Chulalongkorn University Band, Public Relations Department Band as well as the chorus from the Santirat Institute of Business Administration.
The Grand Palace and Temple of the Emerald Buddha is closed today to make way for the ceremony of collecting the royal relics and ashes and procession to the Grand Palace. Tomorrow, the Temple of the Emerald Buddha will close from 1pm onwards to make way for the religious ceremony for the royal relics, while the temple will close on Thursday for the royal relics enshrining ceremony.
As the Cabinet had agreed, the Thai public wore mourning black and the state offices, enterprises and schools flew the national flag at halfmast until today.
The royal cremation ceremonial ground will be open from tomorrow until next Tuesday, for the public to admire the Thai traditional craftsmanship, arts and culture through the specially built crematorium and surrounding buildings, including the Royal MeritMaking Pavilion (Phra Thinang Songtham).
The public can learn about the Princess's life and works at the permanent exhibition at Sanam Chan Palace.
The only child of King Rama VI and HRH Princess Suvadhana, Royal Consort of King Rama VI, HRH Princess Bejaratana was born on 24 November 1925 at the Grand Palace. The King died one day after her birth.
In her early childhood, the princess attended Bangkok’s Rajini School until age 13. She then moved to England during World War II with her mother to further her education before moving back to Thailand in 1957. The princess was a gifted individual, particularly with numbers, being able to calculate promptly which day of the week dates would fall, indicated in a calendar covering 300400 years.
She started her royal duties when her life became settled. Her main duties included continuing the legacy of her father in scouts activities for boys and girls, giving out scholarships and partaking in school activities, as well as being a patron of public social welfare, religion, and the military services. The Princess Bejaratana passed away on 27 July 2011 from a blood infection at the age of 85.

cradit:http://www.nationmultimedia.com

Sunday, April 8, 2012

9 สิ่งควรรู้ พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ



ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ อย่างสมพระเกียรติ ด้วยเหตุดังกล่าวการจัดงานพระราชพิธีจึงได้ระดมสุดยอดฝีมือช่างไทยจากทั่วทุกสารทิศมาดำเนินการจัดสร้างให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณี



ดังนั้น ในวันที่ 9 เมษายนนอกจากพสกนิกรชาวไทยจะได้พร้อมใจกันร่วมถวายความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ แล้ว ยังจะมีโอกาสได้ศึกษาโบราณราชพระเพณีเกี่ยวกับการจัดพระศพไปพร้อมๆ กันด้วย โดยงานพระราชพิธีครั้งนี้มีสิ่งที่ควรรู้อยู่ 9 ประการด้วยกัน



1.พระเมรุทรงปราสาทยอดมณฑป



เมื่อสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระเกียติยศสูงสุด ซึ่งตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ต้องสร้างสัปตปฏลเศวตฉัตรไว้ยอดพระเมรุ



สำหรับงานการก่อสร้างพระเมรุและเครื่องประกอบพระเมรุสำหรับการก่อสร้างพระเมรุและเครื่องประกอบพระเมรุ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง มี “พลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น” อดีตอธิบดีกรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมไทย เป็นผู้ออกแบบพระเมรุ ให้เป็นอาคารทรงปราสาทยอดมณฑป หลังคาจัตุรมุขซ้อนสองชั้น มีมุขยื่นทั้งสี่ด้าน สร้างขึ้นบนฐานชาลาใหญ่ มุขหน้าด้านทิศตะวันตกเป็นทางเสด็จพระราชดำเนิน มุขด้านทิศเหนือ มีสะพานเกรินสำหรับอัญเชิญพระโกศขึ้นประดิษฐานเหนือพระจิตกาธานภายในพระเมรุ มุขหลังด้านทิศตะวันออก เป็นพื้นที่วางเตาเผาพระศพ บริเวณฐานชาลาทุกด้าน มีบันไดทางขึ้นลง รายล้อมด้วยรั้วราชวัตร ฉัตร โคม และเทวดา



2.สัปตปฎลเศวตฉัตร : เครื่องยอดพระเมรุ



ลักษณะเครื่องยอดพระเมรุ เป็นทรงมณฑปมีชั้นเชิงกลอน 5ชั้น มุมหลังคา มีนาคปัก ส่วนบนเป็นองค์ระฆังรับบัลลังก์ เหนือบัลลังก์เป็นชุดบัวคลุ่ม 5 ชั้น ปลียอดแบ่งสองส่วนคั่นด้วยลูกแก้ว บนยอดมีเม็ดน้ำค้าง เหนือสุดปักสัปตปฎลเศวตฉัตร หน้าบันทั้ง4 ด้านประดับอักษรพระนาม “พร” โครงสีของพระเมรุโดยรวมเป็นสีทองและสีชมพู ตามสีวันพระราชสมภพ คือวันอังคาร งานพระเมรุครั้งนี้ มีแนวคิดที่ลดการใช้ไม้ จึงเสริมบางส่วนที่เป็นงานซ้อนไม้ด้วยวิธีการปั้นหล่อถอดพิมพ์ไฟเบอร์กลาส การประดับตกแต่งส่วนอื่นๆ ใช้การปิดผ้าทองย่นสาบสีสอดแววแทนการปิดทองประดับกระจก



3.หอเปลื้อง ที่เก็บพระโกศ



อาคารประกอบพระเมรุนั้น ประกอบด้วยซ่าง อาคารที่สร้างบนฐานชาลาพระเมรุทั้ง 4 มุม เป็นที่สำหรับพระพิธีธรรม 4 ชุดสลับกันสวดพระอภิธรรม ตั้งแต่เชิญพระโกศพระศพประดิษฐานบนพระจิตกาธานจนเสร็จการพระราชทานเพลิง หอเปลื้อง เป็นอาคารขนาดเล็กชั้นเดียวหลังคาจั่ว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระเมรุ เป็นที่เก็บพระโกศและเครื่องประกอบ หลังจากที่เปลื้องออกจากพระลองแล้ว และสำหรับเก็บเครื่องใช้เบ็ดเตล็ดในช่วงการพระราชทานเพลิงพระศพ พระที่นั่งทรงธรรม ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระเมรุ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับขณะบำเพ็ญพระราชกุศล มีบริเวณสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ทูตานุทูต นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เฝ้าฯ รับเสด็จ



4.เทวดารอบพระเมรุและสัตว์หิมพานต์



ในส่วนเทวดาประดับรอบพระเมรุจำนวน 30 องค์ แบ่งเป็นเทวดานั่งถือโคม 14 องค์ เทวดานั่งถือบังแทรก 6 องค์ เทวดายืนถือโคม 2 องค์ เทวดายืนถือฉัตรผ้า 8 องค์ สร้างจากหุ่นประดับลายอย่างโบราณ แล้วหล่อด้วยไฟเบอร์กลาส ทาสีประดับสีทองเลื่อมและเขียนสีตามแบบไทย ปิดลวดลายผ้าทองย่นสาบสีที่ฐานเทวดา



ส่วนสัตว์หิมพานต์ประกอบพระเมรุนั้น เป็นราชประเพณีสืบต่อกันมาช้านาน ด้วยความเชื่อเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เป็นสมมติเทวราช เมื่อเสด็จสวรรคตจึงสร้างพระเมรุโดยมุ่งหมายให้เป็นการจำลองเขาพระสุเมรุที่มีเขาสัตตบริภัณฑ์รายล้อม เชิงเขาพระสุเมรุคือป่าหิมพานต์ซึ่งดาษดื่นด้วยสัตว์ในจินตนาการนานาพันธุ์ ครั้งนี้ สร้างด้วยเทคนิคการปั้นปูนสดโดยกลุ่มช่างจากจังหวัดเพชรบุรี และเขียนสีโดยจิตรกรจากสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร



โดยเนรมิตอบฐานพระเมรุด้วยการนำสัตว์หิมพานต์ จำนวน 160 ตัว พร้อมนำไม้ดอกไม้ประดับ เช่นดอกหงอนไก่สีชมพู สีประจำวันประสูติ ต้นส้มหลอด สีทรงโปรด ทองพันชั่ง หนวดปลาดุก รวมทั้งต้นไม้ประเภทบอนไซ ต้นไทร ต้นโมก ต้นสนเลื้อย เล็บครุฑ ไม้ดัดตะโกใหญ่ ให้เหมือนป่าหิมพานต์ ส่วนที่พิเศษกระถางต้นไม้ ที่สั่งทำขึ้นมาใหม่มีอักษรพระนาม “พร”ประดับโดยรอบด้วย ส่งผลให้ภูมิทัศน์โดยรอบพระเมรุสวยงาม



5.พระโกศทองคำ-พระโกศจันทน์



ในส่วนของสร้างพระโกศ นายนิยม กลิ่นบุปผา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม ผู้ออกแบบพระโกศ อธิบายว่า พระโกศทองเป็นงานประณีตศิลป์ทำเครื่องทองอย่างโบราณ ที่ยากและวิจิตรที่สุด มีหลายรูปแบบ มีทั้งองค์พระโกศ คล้ายกับภาชนะแต่ตีลายเป็นกลีบบัว ตัวฐานคล้ายกับฐานบัลลังก์ ตัวฝาเหมือนกับพระมหามงกุฎ หรือพระมงกุฎ หรือพระชฎา ดังนั้น ในหนึ่งองค์พระโกศทองคำ จึงมีงานลักษณะคล้ายบัลลังก์ คล้ายภาชนะ และคล้ายพระชฎามหามงกุฎ อยู่ในตัวเดียวกัน ส่วนพระโกศจันทน์ สร้างด้วยไม้จันทน์หอมแปรรูปไม้ให้เป็นแผ่นบาง โกรกฉลุเป็นลวดลายตามแบบที่กำหนด โครงภายในเป็นเหล็กไร้สนิมและกรุด้วยลวดตาข่าย ใช้ไม้จันทน์ฉลุตกแต่งลวดลายขนาดใหญ่น้อยให้ได้สัดส่วนที่งดงาม



6.ฉากบังเพลิง



ฉากบังเพลิง นายสาคร โสภา รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร วิทยาลัยช่างศิลป ในฐานะผู้เชี่ยวชาญศิลปกรรมไทยผู้เขียนลวดลายฉากบังเพลิง อธิบายว่า ฉากบังเพลิงมีความงดงาม ด้านหน้าเป็นรูปเทวดา ด้านหลังเป็นรูปดอกกุหลาบ เนื่องจาก สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ ทรงโปรดดอกกุหลาบเป็นอย่างมาก การออกแบบจึงได้นำลวดลายดอกกุหลาบมาเขียนไว้ที่ฉากบังเพลิง ส่วนฉากบังเตานั้น ได้ออกแบบเป็นรูปดอกบัว 4 เหล่า เพื่อแฝงคติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาไว้ เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ ซึ่งนับตั้งแต่โบราณมาจะมีการเขียนลวดลายต่างๆที่แฝงคติธรรม ในพระเมรุมาโดยตลอด



7.ราชรถ ราชยาน และพระยานมาศ



ในส่วนของราชรถ ราชยาน และพระยานมาศที่สำคัญได้แก่ พระมหาพิชัยราชรถ เป็นราชรถบุษบกขนาดใหญ่ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2338 ถือเป็นพระราชเพณีที่ให้พระมหาพิชัยราชรถ เชิญพระบรมศพพระมหากษัตริย์พระราชินี และเจ้านายที่มีพระอิสริยยศสูง ซึ่งครั้งนี้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่



พระยานมาศสามลำคาน เป็นยานที่มีคานหามขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้จำหลักลวดลายลงรักปิดทองมีพนักโดยรอบ 3 ด้าน และมีคานหาม 3 คาน จึงเรียกว่า พระยานมาศสามลำคาน ใช้สำหรับอัญเชิญพระโกศพระศพจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถและเชิญพระโกศเวียนรอบพระเมรุ



8.ซีดี “เพชรรัตนาลัย”



กรมศิลปากรได้จัดทำซีดีชุด เพชรรัตนาลัย ประกอบด้วย การสร้างสรรค์บทเพลงพิเศษขึ้นใหม่ชื่อ เพลงเพชร ประพันธ์คำร้องโดยนาย วัฒนะ บุญจับ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ โดยเนื้อหาของเพลงเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และน้ำพระราชหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ และนำคำร้องดังกล่าวบันทึกเสียงลงแผ่นซีดีทำนองพม่าแปลง ขับร้องโดย ดวงดาว เถาว์หิรัญ คีตศิลปินกลุ่มดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต นอกจากนี้ยังมีบทเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่ คือ เพลงใบไม้ร่วง ผลงานประพันธ์คำร้องของนาย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ ขับร้องโดย ปาน ธนพร แวกประยูร และเพลงพสุธากันแสง ประพันธ์คำร้องโดยนาย ชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ ขับร้องโดย กุ้ง สุทธิราช วงศ์เทวัญ บทเพลงทั้ง 3 เพลง ประชาชนสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ www.m-culture.go.th และ www.finearth.go.th



9.เหรียญที่ระลึกเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ



กรมธนารักษ์ น้อมถวายความอาลัยสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้จัดทำเหรียญที่ระลึกอนุสรณ์พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ และน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน โดยเหรียญที่ระลึกด้านหน้า ได้อัญเชิญพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี มาประกอบการออกแบบ ซึ่งได้เลือกพระฉายาลักษณ์ที่ประชาชนคุ้นเคย พระพักตร์เปี่ยมด้วยพระเมตตา และทรงฉลองพระองค์ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เต็มพระยศ และรูปแบบด้านหลังของเหรียญ ที่ระลึกฯ นำรูปพระเมรุที่ใช้ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ มาจัดวาง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์ ด้านหลังรูปพระเมรุมีรูปแสงพระอาทิตย์แผ่รัศมีผ่าน ปุยเมฆ สื่อความหมายว่าแสงสุดท้ายและเป็นการน้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย



มหรสพสมโภชเทิดพระเกียรติ ส่งเสด็จกลับสู่สรวงสวรรคาลัย



การแสดงมหรสพสมโภชงานออกพระเมรุพระบรมอัฐิ ถือเป็นแบบแผนประเพณีสืบทอดกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ถือเป็นการออกทุกข์ หลักจากที่ไว้ทุกข์มาระยะหนึ่ง จึงนำเอามหรสพสมโภชมาเล่น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ เชื่อกันว่าเมื่อเจ้านายสวรรคตหรือสิ้นพระชนม์ลง จะเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์ และงานถวายเพลิงพระศพ เหมือนส่งเสด็จและแสดงความกตัญญูต่อผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย



ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้จัดการแสดงมหรสพ 3 เวที โดยแสดงมหรสพสมโภช โดยการแสดงหน้าพระเมรุได้จัดการแสดงโขนรามเกียรติ์ ชุด นาง ลอย ใช้เวลาแสดงประมาณ 2 ชั่วโมง



เวทีที่ 1 ด้านสะพานพระปิ่นเกล้า เป็นการแสดงหนังใหญ่ และโขนหน้าจอ เรื่อง รามเกียรติ์ อันเป็นมหากาพย์ที่ว่าด้วยการอวตารของพระนารายณ์เทพเจ้า ซึ่งเรามักจะเทิดทูนบูชาพระมหากษัตริย์เราเป็นดั่งสมมติเทพ



เวทีที่ 2 ด้านศาลฎีกา มีการแสดง 3 ชุด ประกอบด้วย การแสดงหุ่นกระบอก เรื่อง พระอภัยมณี ตอน ศึกเก้าทัพถึงพบนางละเวง การแสดงละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 เรื่อง ศกุนตลา ตอน ท้าวทุษยันต์พบนางศกุนตลา และการแสดงละครนอก เรื่อง สังข์ทอง ตอน พระสังข์หนีนางพันธุรัต ถึงพระสังข์พบพระมารดา



เวทีที่ 3 ด้านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการบรรเลงขับร้องโดยวงดนตรีสากล 3 วง คือ วง C.U. แบนด์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนักร้องประสานเสียง วิทยาลัยอาชีวะสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ และวงกรมประชาสัมพันธ์



ทั้งนี้ ทุกเวทีจะเริ่มการแสดงตั้งแต่เวลา 19.00 น.ของวันจันทร์ที่ 9 เม.ย. และเสร็จสิ้นเวลา 06.00 น.ของวันอังคารที่ 10 เม.ย. รวมใช้เวลาแสดง 10 ชม. และจะหยุดการแสดงในช่วงเวลาพระราชทานเพลิงพระศพจริง



เครดิต



ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์

หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ


พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลไทยขึ้นจัดเพื่อแสดงความจงรักภักดีและความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โดยกำหนดวันพระราชพิธีระหว่างวันที่ 8-12 เมษายน พ.ศ. 2555 โดยกำหนดการพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ การบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 8 เมษายน พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในวันที่ 9 เมษายน พระราชพิธีเก็บพระอัฐิ ในวันที่ 10 เมษายน การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระอัฐิ ในวันที่ 11 เมษายน การเชิญพระอัฐิขึ้นประดิษฐานที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และการเชิญพระผอบพระสรีรางคารไปบรรจุยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในวันที่ 12 เมษายน
หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี มีดังนี้ 
  • วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555
    • เวลา 17.30 น. บำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
      • แต่งกายเต็มยศ สายสะพายมงกุฎไทย ไว้ทุกข์
  • วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555
    • เวลา 7.00 น. เชิญพระโกศทองใหญ่ทรงพระศพออกพระเมรุ ท้องสนามหลวง โดยริ้วกระบวนที่ 1 ริ้วกระบวนที่ 2 และริ้วกระบวนที่ 3
      • แต่งกายเต็มยศ สายสะพายมหาจักรีบรมราชวงศ์ ไว้ทุกข์
    • เวลา 16.30 น. พระราชทานเพลิงพระศพ
      • แต่งกายเต็มยศ สายสะพายมหาจักรีบรมราชวงศ์ ไว้ทุกข์
    • เวลา 22.00 น. พระราชทานเพลิงพระศพจริง (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เตาไฟฟ้าในการพระราชทานเพลิง)
      • แต่งกายชุดปกติขาว ไว้ทุกข์
  • วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555
    • เวลา 8.00 น. เก็บพระอัฐิ เชิญพระอัฐิสู่พระบรมมหาราชวัง โดยริ้วกระบวนที่ 4
      • แต่งกายเต็มยศ สายสะพายจุลจอมเกล้า ไว้ทุกข์
  • วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555
    • เวลา 16.30 น. บำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
      • แต่งกายเต็มยศ สายสะพายมหาจักรีบรมราชวงศ์
  • วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555
    • เวลา 10.30 น. เลี้ยงพระ เชิญพระอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท โดยริ้วกระบวนที่ 5
      • แต่งกายเต็มยศ สายสะพายจุลจอมเกล้า
    • เวลา 16.30 น. บรรจุพระสรีรางคาร ณ อนุสรณ์สถานเสาวภาประดิษฐาน สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยริ้วกระบวนที่ 6 (ขบวนรถยนต์)
      • แต่งกายเต็มยศ สายสะพายจุลจอมเกล้า
อนึ่ง รัฐบาลได้กำหนดให้วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นวันพระราชทานเพลิงพระศพ เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษ โดยในระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2555 กำหนดให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ และสถานศึกษาทุกแห่งลดธงครึ่งเสา ขอความร่วมมือประชาชนไว้ทุกข์โดยทั่วกัน ขอความร่วมมือสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ควบคุมดูแลรายการที่ออกอากาศให้เหมาะสม และขอความร่วมมือสถานบริการต่าง ๆ ให้งดหรือลดการแสดงเพื่อความบันเทิง เป็นระยะเวลา 3 วัน

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี










พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 — 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในอีกหนึ่งวันต่อมา


พระนาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดให้ใช้คำนำหน้าพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ออกคำนำหน้าพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ และคำนำหน้าพระนามนี้ยังใช้จนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน


หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์ พระองค์ก็นับเป็นพระกุลเชษฐ์โดยพระชนมายุ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นพระญาติชั้นที่ 3 ของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา


สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชันษา 85 พรรษา


พระประวัติ

ประสูติ
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จสวรรคตเพียงวันเดียว


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สถาปนานางสาวสุวัทนา อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นเจ้าจอมสุวัทนา และในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเองก็ได้มีการสถาปนาเจ้าจอมสุวัทนาซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่าจะประสูติกาลพระบุตรในไม่ช้า ขึ้นเป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เพื่อ "...ผดุงพระราชอิศริยยศแห่งพระกุมารที่จะมีพระประสูติการในเบื้องหน้า"


เมื่อครั้งที่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวียังทรงพระครรภ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปีติโสมนัสเป็นอย่างพ้นประมาณ ทรงเฝ้ารอพระประสูติการของพระหน่อพระองค์แรกอย่างจดจ่อ ด้วยทรงคาดหวังว่าจะประสูติกาลพระโอรส ซึ่งพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้มีพระดำรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ความว่า "...เมื่อฉันตั้งครรภ์เจ้าฟ้า ล้นเกล้าฯ ก็ทรงโสมนัส ทรงคาดคิดว่าจะได้เป็นชาย ได้ราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ เมื่อยังมีพระอนามัยดีอยู่ ก็มีรับสั่งอย่างสนิทเสน่หาทรงกะแผนการชื่นชมต่อ พระเจ้าลูกยาเธอที่จะเกิดใหม่...อีกทั้งยังทรงพระราชนิพนธ์บทกล่อมบรรทมสำหรับสมโภชเดือนพระราชกุมารประกอบเพลงปลาทองไว้ล่วงหน้า ความว่า



พระเอยพระหน่อนาถ

งามพิลาสดั่งดวงมณีใส


พระเสด็จจากฟากฟ้าสุราลัย

มาเพื่อให้ฝูงชนกมลปรีดิ์


ดอกเอยดอกจัมปา

หอมชื่นจิตติดนาสา


ยิ่งดมยิ่งพาให้ดมเอยฯ


หอมพระเดชทรงยศโอรสราช

แผ่เผยผงาดในแดนไกล


พึ่งเดชพระหน่อไท

เป็นสุขสมใจไม่วางวายฯ


รูปละม้ายคล้ายพระบิตุราช

ผิวผุดผาดเพียงชนนีศรี


ขอพระจงทรงคุณวิบุลย์ทวี

เพื่อเป็นที่ร่มเกล้าข้าเฝ้าเทอญฯ


ดอกเอยดอกพุทธิชาต

หอมเย็นใจใสสะอาด


หอมบมิขาดสุคนธ์เอยฯ


หอมพระคุณการุณเป็นประถม

เย็นเกล้าเหมือนร่มโพธิ์ทอง


เหล่าข้าทูลละออง

ภักดีสนองพระคุณไทฯ


วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2468 แต่แล้วเมื่อใกล้พระประสูติการ ความชื่นบานทั้งหลายกลับกลายเป็นความกังวล เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรหนักด้วยโรคพระอันตะ มีพระอาการรุนแรงขึ้นอย่างมิคาดฝัน ในยามนั้น พระองค์ประทับ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระนางเจ้าสุวัทนาฯ ประทับ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ซึ่งติดกับพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เพื่อทรงรอฟังข่าวพระประสูติการอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งพระนางเจ้าสุวัทนาฯ มีพระประสูติการเจ้าฟ้าหญิงในวันที่ 24 พฤศจิกายน จากนั้นในเวลาบ่าย เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ได้เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พระนางเจ้าสุวัทนาฯ ประสูติ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ” เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว มีพระราชดำรัสว่า “ก็ดีเหมือนกัน”จนรุ่งขึ้นในวันพุธที่ 25 พฤศจิกายน เจ้าพระยารามราฆพ เชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์น้อยไปเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถผู้ทรงพระประชวรหนักบนพระแท่น เมื่อทอดพระเนตรแล้ว ทรงพยายามยกพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา แต่ก็ทรงอ่อนพระกำลังมากจนไม่สามารถจะทรงยกพระหัตถ์ได้เนื่องจากขณะนั้นมีพระอาการประชวรอยู่ในขั้นวิกฤต เจ้าพระยารามราฆพจึงเชิญพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา เมื่อจะเชิญเสด็จพระราชกุมารีกลับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงโบกพระหัตถ์แสดงพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรพระราชธิดาอีกครั้ง จึงเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอมาเฝ้าฯ เป็นครั้งที่สอง และเป็นครั้งสุดท้ายแห่งพระชนมชีพจนกลางดึกคืนนั้นเองก็เสด็จสวรรคต


พระนม (แม่นม) ของสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 คือ คุณบุปผา พนมวัน ณ อยุธยา ซึ่งเป็นพระนมโดยตำแหน่ง เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในรัชกาลที่ 6 เสวยพระกษิรธาราจากพระชนนี มีคณะพยาบาลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ถวายอภิบาลในเบื้องต้น จากนั้นจึงมีคณะพระอภิบาลจำนวน 12 คน ซึ่งเป็นอดีตคุณพนักงานในรัชกาลที่ 6 โดยผลัดเปลี่ยนกันเฝ้าอภิบาลจนทรงเจริญพระวัยพอสมควร


พระนาม
พระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นั้นได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2468และมีคำนำพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ภาติกา หมายถึง หลานสาวที่เป็นลูกสาวของพี่ชาย) โดยก่อนหน้านี้มีการสมโภชได้มีการคิดพระนามไว้ 3 พระนาม ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชอรสา สิริโสภาพัณณวดี, สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนจุฬิน สิริโสภิณพัณณวดี และสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีท้ายที่สุด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเลือกพระนามสุดท้ายพระราชทาน


ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้เสด็จผ่านพิภพขึ้นสืบสนองพระองค์ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีประกาศเปลี่ยนคำนำพระนามสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ผู้เป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ


จากนั้นในปี พ.ศ. 2489 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบแทน ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงคำนำพระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ว่า สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ แม้ว่าสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ จะเป็นพระเชษฐภคินีผู้ทรงเจริญพระชนมายุสูงกว่า เนื่องจากคำว่า ภคินี แปลได้ทั้งน้องหญิงและพี่หญิง ดุจเดียวกัน จึงทรงพระนามตามพระฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ดังปรากฏในปัจจุบันว่า สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ส่วนพระนามในภาษาอังกฤษตามทางราชการใช้ว่า "Her Royal Highness Princess Bejaratana"

เมื่อทรงพระเยาว์
หลังจากประสูติแล้วไม่นาน สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอฯ และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้ทรงย้ายไปประทับ ณ ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อทรงเจริญวัยขึ้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงว่าสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอฯ จะไม่มีสถานที่ทรงวิ่งเล่นเพราะในพระบรมมหาราชวังมีบริเวณคับแคบ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายออกมาประทับ ณ พระตำหนักสวนหงษ์ พระราชวังดุสิต ตามพระประสงค์ของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ซึ่งเป็นที่กว้างขวางร่มรื่น แวดล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่เหมาะแก่การสำราญพระอิริยาบถของสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอฯ


ขณะสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ทรงพระเมตตาเอาพระราชหฤทัยใส่ดูแลทั้งด้านพระอนามัยและความเป็นอยู่มาโดยตลอด ด้วยเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงพระประชวรหนักนั้น ได้มีพระราชดำรัสกับสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าว่า “ขอฝากลูกด้วย” ต่อมา สมเด็จพระพันวัสสามาตุจฉาเจ้ายังได้มีพระราชกระแสถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “เจ้าฟ้านี่ ฉันตายก็นอนตาไม่หลับ พระมงกุฎฝากฝังเอาไว้”


ระหว่างทรงพระเยาว์ มีเหตุการณ์ผันผวนทางการเมืองหลายครั้ง เช่น การเปลี่ยนแปลงการปกครอง และกบฎบวรเดช ทำให้ต้องทรงย้ายที่ประทับอยู่ตลอดเวลา เช่น ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดีในพระบรมมหาราชวัง, พระตำหนักสวนหงส์ พระราชวังดุสิต, ตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา, พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ในสวนสุนันทา และพระตำหนักเขียว วังสระปทุม


จนกระทั่งพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี โปรดให้สร้างตำหนักใหม่ขึ้นเป็นส่วนพระองค์บนที่ดินหัวมุมถนนราชสีมาตัดกับถนนสุโขทัยซึ่งเป็นที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่คราวอภิเษกสมรส ตำหนักแห่งนี้ประทานนามว่า สวนรื่นฤดี มีนายหมิว อภัยวงศ์เป็นสถาปนิก และพลโท พระยาศัลวิธานนิเทศ (แอบ รักตะประจิต)เป็นวิศวกร (ต่อมาได้ทรงขายให้แก่ทางราชการขณะเสด็จไปประทับ ณ ประเทศอังกฤษ และปัจจุบันเป็นส่วนราชการของกองทัพบก)


สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ได้ทรงพระอักษรเบื้องต้นโดยพระอาจารย์จากโรงเรียนราชินี เช่น หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล, หม่อมเจ้าหญิงเสมอภาค โสณกุล, ครูพิศ ภูมิรัตน ฯลฯ จากนั้น ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ โรงเรียนราชินี (หมายเลขประจำพระองค์ 1847) แล้วจึงทรงศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการกับท่านผู้หญิงศรีนาถ สุริยะ อาจารย์จากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ณ ตำหนักสวนรื่นฤดี ถนนราชสีมา

ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ


ต่อมาใน พ.ศ. 2480 พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ผู้เป็นพระชนนีทรงเห็นว่าพระพลานมัยของพระธิดาไม่สู้สมบูรณ์นักจึงนำพระธิดาไปทรงพระอักษรและประทับรักษาพระอนามัย ณ ประเทศอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงเสด็จไปประทับอยู่ก่อนการสละราชสมบัติแล้ว ทรงย้ายที่ประทับหลายแห่งตามลำดับ กล่าวคือ ตำหนักแฟร์ฮิลล์ เมืองแคมเบอร์เลย์ มณฑลเซอร์เรย์, ตำหนักหลุยส์เครสเซนต์ เมืองไบรตัน มณฑลซัสเซค และตำหนักไดก์โรด (บ้านรื่นฤดี) เมืองไบรตัน มณฑลซัสเซคทั้งสองพระองค์ต้องประสบความยากลำบากนานับประการอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองในช่วงภาวะสงครามจึงทรงประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการทำงานบ้านเองเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างข้าหลวงชาวต่างประเทศ โดยผู้ที่รับใช้ภายในพระตำหนักจะเป็นสตรีทั้งหมด


สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอได้ทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส และเปียโนกับพระอาจารย์ชาวต่างประเทศ และได้เสด็จไปทรงศึกษาในโรงเรียนประจำสตรีชื่อโรงเรียนเซเครดฮาร์ต แคว้นเวลส์ ครั้นในช่วงเสด็จลี้ภัยสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งนี้ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่พระองค์ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ พระองค์และพระชนนีมีพระกรุณาต่อชาวไทยในประเทศอังกฤษ โดยทรงโปรดให้เข้าเฝ้า และจัดประทานเลี้ยงให้อยู่เสมอ และพระราชทานพระกรุณาแก่กิจการต่างๆ ของชาวไทยอยู่เสมอ ทรงร่วมงานของสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นสมาคมนักเรียนไทยในสหราชอาณาจักร เป็นประจำ นอกจากนี้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ยังทรงอุทิศพระองค์ช่วยเหลือกิจการสภากาชาดอังกฤษ ประทานแก่ทหารและผู้ประสบภัยสงครามด้วยการเสด็จไปทรงบำเพ็ญประโยชน์ เช่น ม้วนผ้าพันแผล จัดยา และเวชภัณฑ์ สภากาชาดอังกฤษจึงได้ถวายถวายเกียรติบัตรประกาศพระกรุณา และในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระชนมชีพหลังการสละราชสมบัติแล้ว พระองค์และพระชนนีได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่เสมอ

นิวัตประเทศไทย


เสด็จกลับประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเมื่อปี พ.ศ. 2500 ทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างวังในซอยสุขุมวิท 38 (ซอยสันติสุข) โดยมีพลเรือตรีสมภพ ภิรมย์ ศิลปินแห่งชาติ เป็นสถาปนิก แล้วเสด็จไปประเทศอังกฤษอีกในปี พ.ศ. 2501 เพื่อทรงเตรียมพระองค์เสด็จกลับประเทศไทยเป็นการถาวร จากนั้นจึงได้เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวรในปี พ.ศ. 2502 ประทับ ณ วังแห่งใหม่ จึงได้ขนานนามวังดังกล่าวว่า วังรื่นฤดี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2503ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 69 ซอยสุขุมวิท 38 กรุงเทพมหานคร และพระองค์ได้ประทับอยู่ตราบกระทั่งสิ้นพระชนม์ ส่วนในช่วงฤดูร้อนพระองค์จะเสด็จแปรที่ประทับไปยังตำหนักพัชราลัย ถนนเพชรเกษม อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


หลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีผลัดเปลี่ยนกันอัญเชิญดอกไม้และผลไม้ และสังเกตพระอนามัยของพระองค์เป็นประจำทุก 2 สัปดาห์ มีการจัดตำรวจคอยอารักขาตลอดเวลา และทรงโปรดฯให้ห้องเครื่องสวนจิตรลดาจัดเครื่องเสวยมาทุกวัน นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลขาธิการพระราชวังจัดกรมวัง และสารถีมาปฏิบัติหน้าที่ประจำทั้งภายในวังที่ประทับ และจัดเจ้าหน้าที่มาตกแต่งสถานที่ และปฏิบัติในเวลาที่มีงานพิเศษ เช่น งานวันคล้ายวันประสูติ และการทรงบำเพ็ญพระกุศลอย่างสมพระเกียรติยศทุกประการ ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเองก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงนราวดี ชัยเฉนียน มาเฝ้าและคอยติดตามพระอนามัย และใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อยเช่น คลุมพระบรรทมและปลอกพระเขนยที่สวยงาม รวมไปถึงการจัดดอกไม้ที่พระองค์ทรงโปรดมาไว้ที่ห้องพระบรรทม เพื่อให้ทรงชื่นพระทัย


พระกรณียกิจสังเขป
นับแต่เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวรใน พ.ศ. 2502 พระกรณียกิจก็ได้เพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับ ได้ทรงแบ่งเบาพระราชภาระของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะในด้านสังคมสงเคราะห์ โดยเสด็จออกเยี่ยมราษฎรตามหัวเมืองทั้งใกล้ไกล พร้อมพระราชทานพระอนุเคราะห์แก่ผู้ยากไร้อยู่เสมอ ครั้นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลปัจจุบัน ทรงเจริญพระวัยขึ้นกระทั่งทรงสามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้ ประกอบกับพระองค์มีพระชนมายุสูงขึ้น จึงได้เสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารน้อยลง เมื่อพระองค์มีพระชันษาสูงขึ้น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เข้าเฝ้าและได้ปฏิบัติพระกรณียกิจแทนพระองค์อยู่เนืองๆ


สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ได้ทรงรับสถาบันและองค์กรต่างๆ ไว้ในพระอุปถัมภ์เป็นจำนวนกว่า 30 แห่ง ทั้งในส่วนที่สืบสานจากสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ในส่วนของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และโดยส่วนพระองค์เอง ทั้งในด้านการศึกษา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร วชิราวุธวิทยาลัย โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนราชินี โรงเรียนราชินีบนโรงเรียนราชินีบูรณะ โรงเรียนวิเชียรมาตุ โรงเรียนสภาราชินี โรงเรียนศรียานุสรณ์ โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนสายน้ำผึ้ง โรงเรียนศรีอยุธยา โรงเรียนเพชรรัชต์ โรงเรียนเพชรรัตนราชสุดา โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์เพชราวุธวิทยา โรงเรียนสยามธุรกิจ สถาบันสันติราษฎร์บริหารธุรกิจ โรงเรียนพณิชยการสยาม โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ฯลฯ การสาธารณสุข เช่น วชิรพยาบาล โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศิริราชพยาบาล ฯลฯ กิจการลูกเสือ-เนตรนารี และกิจการอาสาสมัครรักษาดินแดน ตลอดจนการสังคมสงเคราะห์อื่นๆ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชทานกำเนิด มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งยังทรงเป็นผู้นำในการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่ 6 เช่น พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี และ พระราชวังพญาไท ในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า อย่างไรก็ดี แม้ทุกวันนี้จะได้เสด็จออกไปทรงปฏิบัติพระกรณียกิจนอกสถานที่น้อยลงเนื่องด้วยพระชนมายุที่สูงขึ้น แต่ก็ยังพระราชทานพระวโรกาสให้ผู้แทนองค์กรต่างๆ เฝ้ากราบทูลรายงานความก้าวหน้าพร้อมทั้งรับพระราชทานพระกรุณาโดยประการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง


สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ มีพระปณิธานอันแน่วแน่ในการทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจ ดังปรากฏในพระดำรัสที่พระราชทานในงานฉลองพระชนมายุ 61 พรรษา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ณ วชิราวุธวิทยาลัย ความตอนหนึ่งว่า "ฉันขอกล่าวต่อท่านทั้งปวงว่า จะพยายามบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์แก่บ้านเมือง ด้วยความจงรักภักดีต่อบ้านเกิดและต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นพระประมุขของชาติ ทั้งจะได้รักษาเกียรติศักดิ์แห่งความเป็นราชนารีในมหาจักรีบรมราชวงศ์ไว้ชั่วชีวิต" — สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี


สิ้นพระชนม์
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้เสด็จประทับรักษาพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ ตึก 84 ปี ชั้น 5 ด้านตะวันออก โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 16 นาฬิกา 37 นาที วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 รวมพระชันษา 85 ปี


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สำนักพระราชวังจัดการพระศพถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามราชประเพณี ประดิษฐานพระศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ มีกำหนด 100 วัน ตั้งแต่วันสิ้นพระชนม์เป็นต้นไป


อนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเข้าถวายน้ำสรงพระศพหน้าพระฉายาลักษณ์ ซึ่งประดิษฐาน ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่เวลา 13 นาฬิกา ถึง 16 นาฬิกา วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 — สำนักพระราชวัง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554



นอกจากนี้ สำนักนายกรัฐมนตรียังได้มีประกาศให้สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่งลดธงครึ่งเสา กับทั้งให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์ ทั้งนี้มีกำหนด 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป (ยกเว้นวันที่ 12 สิงหาคม เนื่องจาก เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ) ซึ่งพระราชพิธีพระศพจะจัดให้สมพระเกียรติเช่นเดียวพระราชพิธีพระศพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์


พระอิสริยยศ
สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (30 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)

พระยศทางทหาร
พันโทหญิง (พ.ศ. 2512)
ผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 15 จังหวัดนครศรีธรรมราช (พ.ศ. 2512)
พันเอกหญิง, นาวาเอกหญิง และ นาวาอากาศเอกหญิง (พ.ศ. 2533)
นายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
นายทหารพิเศษประจำกองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ (พ.ศ. 2533)
นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ (พ.ศ. 2533)
ราชองครักษ์พิเศษ (พ.ศ. 2533)
นายทหารพิเศษ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (พ.ศ. 2533)
นายทหารพิเศษประจำ กองพันทหารราบที่3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (พ.ศ. 2552)
พลเอกหญิง (พ.ศ. 2552)
พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง (พ.ศ. 2553)
นายทหารพิเศษประจำ ฝูงบิน 602 รักษาพระองค์ กองบิน 6 (พ.ศ. 2553)



เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เรียงตามลำดับปีที่ได้รับพระราชทาน)
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ดังนี้
พ.ศ. 2468 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ฝ่ายใน)
พ.ศ. 2468 : เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1
พ.ศ. 2469 : เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1
พ.ศ. 2500 : เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ฝ่ายใน)
พ.ศ. 2501 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน)
พ.ศ. 2510 : เหรียญกาชาดสรรเสริญ
พ.ศ. 2510 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ
พ.ศ. 2529 : เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1
พ.ศ. 2533 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ
พ.ศ. 2535 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2538 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์




เครดิต วิกิพีเดีย