จะพิจารณาจากด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านคุณภาพการสอน จำนวนนักเรียนและอาจารย์ บรรยากาศ สภาพแวดล้อม ความทันสมัยและเพียงพอของอุปกรณ์ หลักสูตรการเรียน กิจกรรม การสนับสนุน ความสะดวกการใช้บริการต่างๆ ทุนการศึกษา ความคุ้มค่าและประโยชน์กับค่าลงทะเบียน ผลงานวิจัย ความเชื่อมั่น ชื่อเสียง การยอมรับจากองค์กรต่างๆ
10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2479 เริ่มตั้งเป็น “โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม” โดยใช้ตึกหอทะเบียนมณฑลนครชัยศรี ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ 86 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม รับเฉพาะนักเรียนหญิง เปิดสอนชั้นฝึกหัดครูประชาบาล
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2479 เริ่มตั้งเป็น “โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม” โดยใช้ตึกหอทะเบียนมณฑลนครชัยศรี ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ 86 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม รับเฉพาะนักเรียนหญิง เปิดสอนชั้นฝึกหัดครูประชาบาล
9 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครได้รับการสถาปนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในนาม "โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์" สังกัดกระทรวงธรรมการ ทำหน้าที่ผลิตครูเพื่อรองรับการขยายตัวของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เป็นสถานศึกษาด้านการฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศไทยมีมิสเตอร์กรีนรอด ชาวอังกฤษเป็นอาจารย์ใหญ่คนเแรก โดยมีที่ตั้งครั้งแรกอยู่ในบริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง จากนั้นก็ได้ย้ายไปสถานที่ตั้งไปอีกหลายแห่ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครได้รับการสถาปนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในนาม "โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์" สังกัดกระทรวงธรรมการ ทำหน้าที่ผลิตครูเพื่อรองรับการขยายตัวของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เป็นสถานศึกษาด้านการฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศไทยมีมิสเตอร์กรีนรอด ชาวอังกฤษเป็นอาจารย์ใหญ่คนเแรก โดยมีที่ตั้งครั้งแรกอยู่ในบริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง จากนั้นก็ได้ย้ายไปสถานที่ตั้งไปอีกหลายแห่ง
8 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ตั้งอยู่เลขที่ 439 ถนนจิระ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เยื้องศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ บนเนื้อที่ 297 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา เดิมที่ดินแปลงนี้กองทัพอากาศใช้เป็นสนามบิน เมื่อเลิกใช้แล้วกองทัพอากาศก็ยกที่ดินส่วนทางด้านทิศตะวันตกให้หน่วย ปฏิบัติการพิเศษตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์และสำนักเร่งรัดพัฒนาชนบท บุรีรัมย์ ส่วนด้านทิศตะวันออกได้มอบให้จังหวัดบุรีรัมย์เพื่อเป็นสถานที่ตั้งของ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์
7 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
มหาวิทยาลัย ราชภัฏเทพสตรี เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เริ่มก่อตั้งจากโรงเรียน ลวะศรีในปีพ.ศ. 2463 และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีในปีพ.ศ.2547
6 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี ในปี พ.ศ. 2516 ได้มีการจัดตั้ง "วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี" โดยเปิดสอนในสาขาวิชาครุศาสตร์ หลังจากนั้น พ.ศ. 2528 ได้เพิ่มการเรียนการสอนในสาขาอื่น ๆ นอกจากครุศาสตร์ และได้รวมกับกลุ่มวิทยาลัยครูทางภาคใต้ 5 แห่ง จัดตั้ง "สหวิทยาลัยทักษิณ" โดยมีสำนักงานของสหวิทยาลัยครูอยู่ที่วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนชื่อ "วิทยาลัยครู" มีผลให้ "วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี" เปลี่ยนชื่อเป็น"สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี" และยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา
5 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีประวัติค่อนข้างยาวนับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2464 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้ เรียนหนังสือ ความต้องการครูเพิ่มขึ้น มณฑล พิษณุโลก จึงผลิตครูโดย เพิ่มหลักสูตรวิชาชีพครูขึ้นในโรงเรียนประจำมณฑลพิษณุโลก “พิษณุโลกพิทยาคม” ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และมัธยมศึกษาปีที่ 6เมื่อสำเร็จ แล้ว ทางราชการจะบรรจุให้เข้ารับราชการครูทันทีได้รับวุฒิประกาศนียบัตรประโยคครู มูล
4 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
มหาวิทยาลัย ราชภัฏจันทรเกษมได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 เดิมเป็น โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม แห่งแรกของประเทศไทย เพื่อรองรับการผลิตครูระดับประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม (ป.ม.) ตั้งอยู่ในเขตวัง จันทรเกษม บนถนนราชดำเนิน และได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2501 ปรับการเรียนการสอนจากประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ได้ย้ายจากสถานที่ตั้งเดิมมาอยู่ที่ซอยสังขะวัฒนะ 2 (ซอยลาดพร้าว 23) ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบัน และใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยครูจันทรเกษม” ในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทานสถาบันการศึกษาดีเด่นระดับอุดมศึกษา จากกระทรวง ศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามใหม่เป็น “สถาบันราชภัฏจันทรเกษม” ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม” เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ภาคในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ และเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโท และปริญญาเอก เน้นการผลิตบัณฑิต ที่มีคุณลักษณะตรงตามความต้องการของสังคมในทุกสถานการณ์ คณาจารย์และบุคลากรมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานสากล ได้รับการยอมรับจากสังคมอย่างภาคภูมิ
3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ ซึ่งสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467 โดยได้มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยน สถาบันมาโดยลำดับ เป็นระยะเวลากว่า 74 ปี
2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เดิมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนสุนันทา ได้เป็นที่ประทับของพระมเหสี พระราชธิดาและเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร โดยมีพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ปัจจุบันมีสภาพใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุดอยู่ 6 ตำหนัก เนื่องจากมีผู้นำบุตรีและหลานของตน มาถวายตัวต่อพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดาเป็นจำนวนมาก พระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้างโรงเรียนนิภาคารสอนตามหลักสูตรการศึกษาสมัยนั้น รวมทั้งอบรมมารยาทและการฝีมือด้วยดำเนินกิจการไปโดยปริยาย พ.ศ. 2480 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ดำริที่จะให้เป็นที่พักอาศัยของนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่คณะรัฐมนตรีลงมติให้ใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษา ของรัฐกระทรวงธรรมการจึงได้จัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาสำหรับกุลสตรี ชื่อโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2480 ตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน
1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กว่า 60 ปีมาแล้วที่ “โรงเรียนการเรือน” ได้ถือกำเนิดขึ้นโดยราชดำริของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ได้ตระเตรียมความชำนาญให้แก่สตรีในยุคนั้น และในขณะเดียวกัน ก็เตรียมให้พวกเธอได้นำความรู้มาใช้ในการสอนด้วย หลายพันครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ก็เนื่องมาจากการมาเรียนที่โรงเรียนการเรือนแห่งนี้ นักศึกษาและคณาจารย์ทุกท่านภูมิใจในความสำเร็จที่ผ่านมา จากโรงเรียนการเรือนในสมัยนั้น ซึ่งได้พัฒนาการศึกษาเรื่อยมา จนเป็น “วิทยาลัยครูสวนดุสิต” และจึงมาเป็น “สถาบันราชภัฎสวนดุสิต” ใน ปัจจุบัน อนุบาลละอออุทิศ เป็นโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่เปิดสอนมาแล้วกว่า 50 ปี และเป็นโรงเรียนที่รับเด็กการศึกษาพิเศษ (เด็กที่มีความพิการทางหู ตา และสมอง) ในระดับอนุบาล เพื่อให้ได้เรียนร่วมกับเด็กปกติทั่วไป (Leaning Disability หรือ L.D.)
Credit http://toptenthailand.com/display.php?id=2089 and Unigang.com